ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การปลูกพืชเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย (ชาอัสสัม) BETA Version
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดเชียงราย (เกษตรที่สูง)

การเก็บพิกัดตำแหน่งระบบ GPS
ในการจัดทำสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ที่สมบูรณ์นั้น จำเป็นจะต้องมีการระบุคำแหน่งพิกัดต่างๆ
ในแผนที่ให้ถูกต้องสมบูรณ์ ผู้ศึกษาจึงลงพื้นที่ที่เก็บตัวอย่างดินจุดต่างๆ เพื่อเก็บพิกัดตำแหน่ง GPS ด้วยตัวเอง
อุปกรณ์การเก็บพิกัด
ประกอบด้วยเครื่อง GPS ยี่ห้อ GARMIN
หรือในบางพื้นที่จะใช้แอปพลิเคชั่น Handy GPS ในสมาร์ทโฟน
โดยค่าที่อ่านได้จะเป็นระบบ UTM
(Universal Transverse Mercator)
ประกอบด้วยเลขโซน ของพื่นที่เชียงรายเป็น 47 Q
และค่าพิกัดเป็นตัวเลข 2 ชุดคือค่า X, Y
จากนั้นจดบันทึกลงในสมุดบันทึก
พร้อมกับชื่อ นามสกุล และหมายเลขแปลง
การจัดการข้อมูล
หลังจากได้ข้อมูลตำแหน่งมาแล้ว
จะนำข้อมูลเหล่านั้นบันทึกลงไป
ในโปรแกรม Microsoft Excel
เพื่อง่ายต่อการจัดการข้อมูล
จากนั้น IMPORT ข้อมูลเข้าไปในโปรแกรม
QGIS เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่ง
หากตำแหน่งมีความคลาดเคลื่อนจาก
ตำแหน่งจริงที่เราลงไปเก็บ ให้ลอง
ตรวจสอบข้อมูลดิบอีกครั้ง ว่ามีความผิดพลาดตรงไหน
และแก้ไขให้ถูกต้อง โดยการนำพิกัด
ไปลองพลอตลงในโปรแกรม Google Earth
เพื่อตรวจสอบความคลาดเคลื่อนและชดเชยให้ตรง
เมื่อข้อมูลถูกต้องทั้งหมดแล้ว
จึง Export ออกมาเป็นไฟล์ KML
(Keyhole Markup Language)
เพื่อนำไปดำเนินการต่อในบริการ Google My Maps ต่อไป
กลับด้านบน