ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การปลูกพืชเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย (ชาอัสสัม) BETA Version
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดเชียงราย (เกษตรที่สูง)

คู่มือการใช้งาน
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ชิ้นนี้อาศัยการทำงานจากโดยใช้โปรแกรม QGIS
ในการจัดการข้อมูลและ Export มาสู่บริการ Google My Maps ในการจัดการข้อมูลออนไลน์

  

ขั้นแรกของการใช้งานระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เมื่อเปิดหน้าระบบขึ้นมา จะพบกับข้อมูลพื้นฐานสำหรับข้อมูล
คือตำแหน่งที่ตั้งของแปลงชาอัสสัมของเกษตรกร แปลงสาธิตของศูนย์ต่างๆ และที่ตั้งของศูนย์ส่งเสริมเกษตรทีสูงต่างๆ ทั่วจังหวัดเชียงราย
ซึ่งจะมีข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ทั้งค่าความเป็นกรด-ด่าง ธาตุอาหารต่างๆในดิน เป็นรายบุคคลตามตำแหน่งแปลงต่างๆ



โดยจะมีชั้นข้อมูลต่างๆ สำหรับควบคุมการแสดงผลต่างๆ ประกอบการทำงานและช่วยวางแผนในพื้นที่ต่างๆ
โดยสามารถเปิดชั้นข้อมูลได้จากปุ่มทางด้านซ้ายมือตามภาพ



จากนั้นจะเห็นชุดข้อมูลต่างๆ ประกอบไปด้วย
พื้นที่รับผิดชอบของศูนย์เกษตรที่สูง
กลุ่มชุดดิน (Soil Series) ในพื้นที่ศูนย์ปฏิบัติการ
เกษตรกรในพื้นที่เกษตรที่สูงห้วยน้ำขุ่น
เกษตรกรในพื้นที่เกษตรที่สูงดอยผาหม่น
เกษตรกรในพื้นที่เกษตรที่สูงดอยตุง
เกษตรกรในพื้นที่เกษตรที่สูงหัวแม่คำ
ที่ตั้งทางปกครอง
ตำแหน่งที่ตั้งศูนย์เกษตรที่สูง



ซึ่งเราสามารถที่จะเลือกดูเฉพาะข้อมูลได้ ด้วยการติ้กเครื่องหมายหน้าชั้นข้อมูลที่ต้องการทราบ
และนำเครื่องหมายออกหน้าชั้นข้อมูลที่ไม่ต้องการให้แสดงผล

โดยข้อมูลหลักๆ จะมี 2 ประเภทคือ
ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Polygon)
แสดงถึงพื้นที่และขอบเขตของชั้นข้อมูลนั้นๆ ภาพถ่าย และรายละเอียดต่างๆ



ข้อมูลเชิงพิกัด (Point)
เมื่อคลิ้กเข้าไปดูข้อมูลต่างๆ จะมีรายละเอียดอยู่ภายในนั้น ทั้งภาพถ่ายแปลง ผลการทดสอบความเป็นกรด - ด่างในดิน
ธาตุอาหารในดินของเกษตรกรในแปลง และข้อมูลอื่นๆ จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล



กลับด้านบน