ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การปลูกพืชเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย (ชาอัสสัม) BETA Version
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดเชียงราย (เกษตรที่สูง)

กระบวนการทดสอบดิน
เนื่องจากการเก็บตัวอย่างดินจากแต่ละแปลง
ต้องมีขั้นตอนและกระบวนการที่มีหลักการ
น่าเชื่อถือและอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของผู้เชียวชาญ
เราจึงจะมาแนะนำขั้นตอนการเก็บตัวอย่างดิน
และการทดสอบกันตามลำดับดังนี้ :D
การเก็บตัวอย่างดินจากแปลง
สุ่มเก็บตัวอย่างดินภายในแปลง 15-20 จุด
ให้ทั่วแปลง ขนาดของพื้นที่ไม่ควรเกิน 25 ไร่
อุปกรณ์การเก็บตัวอย่างดิน
- จอบ
- soil tube
- สว่านเจาะดิน (Auger)
- เสียม
- พลั่ว
- ผ้าใบ
- ถุงพลาสติก
เก็บตัวอย่างดินแต่ละจุด
ใช้พลั่วหรือจอบขุดดินเป็นรูปตัว V
ให้มีความลึกประมาณ 15 เซนติเมตร
จากนั้นใช้เสียมหรือพลั่ว แซะดินด้านหนึ่งของหลุม
ให้ได้ดินเป็นแผ่นหนา 2-3 เซนติเมตร
คลุกเคล้าดินให้เข้ากัน
เทลงบนผ้าพลาสติก คลุกเคล้าดินให้เข้ากัน
กองดินเป็นรูปฝาชี แบ่งดินออกเป็น 4 ส่วน
เก็บดินไว้เพียงส่วนเดียว
นำดินไปตากในที่ร่ม แล้วบดให้ละเอียด
จากนั้นเก็บใส่ถุง แล้วเขียนหมายเลขกำกับ
การตรวจสอบความเป็นกรด - ด่างของดิน
การตรวจหาค่า pH ของดิน จะทำในขณะที่ดิน
มีความชื้นตามสภาพธรรมชาติ
- ใส่ดินลงในหลุมพลาสติกประมาณครึ่งหลุม
- หยดน้ำยาเบอร์ 10 ลงไปจนอิ่มตัวด้วยน้ำยา
แล้วเพิ่มน้ำยาอีก 2 หยด
- เอียงหลุมพลาสติกไปมาเพื่อให้
น้ำยาทำปฏิกิริยากับดิน
- ทิ้งไว้ 1 นาที เปรียบเทียบสีของน้ำยา
กับแผ่นเทียบสีมาตรฐาน
การตรวจสอบปริมาณ N P K ในดิน
• การสกัดธาตุอาหารพืชในดิน

- ตวงตัวอย่างดินโดยใช้ช้อนตัวง
เคาะเบาๆ กับฝ่ามือ 3 ครั้งให้ดินยุบตัว
แล้วปาดดินส่วนที่เกินออก ใส่ดินลงในขวดพลาสติก
- เติมน้ำยาสกัดเบอร์ 1 ลงไป 20 มิลลิลิตร
เขย่าให้ดินทำปฏิกิริยากับน้ำยาสกัดประมาณ 5 นาที
- กรองสารละลายดินโดยใช้
กระดาษกรองที่เตรียมไว้
- จากนั้นนำสารละลายที่กรองได้
ไปตรวจหา N P K ในดิน
• การตรวจหา N : แอมโมเนีย
- ดูดน้ำกรองออกจากขวด 2.5 มิลลิลิตร
ใส่ลงในหลอดแก้ว
- เติมผงเบอร์ 2 หนึ่งช้อนเล็ก
- เติมน้ำยาเบอร์ 3 ลงไป 5 หยด
- เขย่าให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 5 นาที
- อ่านค่าโดยเปรียบเทียบกับ
แผ่นเทียบสีมาตรฐาน
• การตรวจหา N : ไนเตรต
- ดูดน้ำกรองที่ได้จากขวดรองรับ
2.5 มิลลิลิตร ใส่ลงในหลอดแก้ว
- เติมน้ำยาเบอร์ 4 ลงไป 0.5 มิลลิลิตร
- เติมผงเบอร์ 5 หนึ่งช้อนเล็ก
- ปิดฝาหลอดด้วยจุกยาง
- เขย่าให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 5 นาที
- อ่านค่าโดยเปรียบเทียบ
กับแผ่นสีมาตรฐาน
• การตรวหา P ฟอสฟอรัส
- ดูดน้ำกรองที่ได้จากขวดรองรับ
2.5 มิลลิลิตร ใส่ลงในหลอดแก้ว
- เติมน้ำยาเบอร์ 6 ลงไป 0.5 มิลลิลิตร
- เติมน้ำยาเบอร์ 7 ครึ่งช้อนเล็ก
- ปิดฝาหลอดด้วยจุกยาง
- เขย่าให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 5 นาที
- อ่านค่าฟอสฟอรัส โดยเปรียบเทียบ
กับแผ่นสีมาตรฐาน
• การตรวจหา K โพแทสเซียม
- ดูดน้ำกรองจากขวดรองรับ 0.8 มิลลิลิตร
ใส่ลงในหลอดแก้ว
- เติมน้ำยาเบอร์ 8 ลงไป 2.0 มิลลิลิตร
(ห้ามเขย่า)
- เติมน้ำยาเบอร์ 9A ลงไป 1 หยด (ห้ามเขย่า)
- เติมน้ำยาเบอร์ 9 ลงไป 2 หยด (ห้ามเขย่า)
- ปิดฝาด้วยจุกยาง เขย่าให้เข้ากันแล้วอ่านค่าทันที
หลังจากนั้นนำผลการทดสอบมาบันทึกเป็นข้อมูล
และนำไปจัดทำเป็นสารสนเทศต่อไป
โดยนำไปประกอบกับข้อมูล GPS ที่ลงพื้นที่เก็บมา
เพื่อนำไปทำสารสนเทศภูมิศาสตร์
ขอบคุณข้อมูลจาก
นางสาวจิราพร ทิพนงค์ : นักศึกษาสาขาวิชาปฐพีวิทยา คณะเทคโนโลยีการเกษตร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
กลับด้านบน